บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2019

สัตว์ป่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน

รูปภาพ
สัตว์ป่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน จำนวน 4 ชนิด 1.วาฬบรูด้า ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Balaenoptera edeni       วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ ( อังกฤษ : Bryde's whale, Eden's whale;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balaenoptera edeni) เป็น วาฬ ขนาดใหญ่ เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  จัดอยู่ในวงศ์  Balaenopteridae  โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาว นอร์เวย์  ใน ประเทศแอฟริกาใต้  ที่ชื่อ โยฮัน บรูด้า           มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ และเป็น สัตว์ ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงได้รับการคุ้มครองเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535  ห้ามมีการค้าขายวาฬบรูด้าระหว่างประเทศ           วาฬบรูด้าพบกระจายพันธุ์ในท้อง ทะเล เขตอบอุ่น ทั่วโลก ใน ประเทศไทย พบอาศัยอยู่ใน อ่าวไทย  สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ ทะเลบ่อนอก   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่

แรดชวา

รูปภาพ
แรดชวา ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rhinoceros sondaicus            แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา ( อังกฤษ : Javan Rhinoceros) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ใน อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ แรด  อยู่ในสกุลเดียวกันกับ แรดอินเดีย  เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว               แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวใน อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน บน เกาะชวา ใน ประเทศอินโดนีเซีย  และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวใน อุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน ใน ประเทศเวียดนาม  แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้วการลดลงของแรดชวาเกิดจากการล

กระซู่

รูปภาพ
กระซู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Didermocerus sumatraensis            กระซู่ , แรดสุมาตรา หรือ แรดขน ( อังกฤษ : Sumatran Rhinoceros ;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicerorhinus sumatrensis) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใน อันดับสัตว์กีบคี่ จำพวก แรด  กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียง ชนิด เดียวที่อยู่ใน สกุล  Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือน แรดชวา  นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม. ลำตัวมีขนหยาบและยาวปกคลุม เมื่อโตเต็มที่สูง 120–145  ซม.  จรดหัวไหล่ ยาว 250 ซม. และมีน้ำหนัก 500-800  กก.             กระซู่อาศัยอยู่ใน ป่าดิบชื้น   ป่าพรุ  และ  ป่าเมฆ ในประเทศอินเดีย  ภูฏาน   บังกลาเทศ   พม่า   ลาว   ไทย   มาเลเซีย   อินโดนีเซีย  และ จีน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มณฑลเสฉวน  ปัจจุบัน กระซู่ถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ เหลือสังคมประชากรเพียงหกแหล่งในป่า มีสี่แหล่งใน สุมาตรา  หนึ่งแหล่งใน บอร์เนียว และอีกหนึ่งแหล่งใน มาเลเซียตะวันตก  จำนวนกระซู่ในปัจจุบันยากที่จะประมาณการได้เพราะเป็นสัตว์สันโดษที่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็

กูปรี

รูปภาพ
กูปรีหรือโคไพร ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bos sauveli           กูปรี หรือ โคไพร ( เขมร : គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า กูปรี แปลว่า วัวป่า) มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวก กระทิง และ วัวป่า  เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน             ตัวผู้ มีขน สีดำ  ขนาดความสูง 1.71 - 1.90 เมตร ขนาดลำตัว 2.10 - 2.22 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 700 - 900 กิโลกรัม เขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับ กระทิง  (B. gaurus) ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เชื่อว่าใช้ในการระบายความร้อน               ตัวเมีย มีขน สีเทา  มีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา มีเขากลวงแบบ Horns ขนาดเท่ากัน โคนเขาใหญ่ ปลายเขาแหลม ไม่มีการแตกกิ่ง ยาวประมาณ 1 เมตร 

ควายป่า

รูปภาพ
ควายป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bubalus bubalis             ควายป่า ( อังกฤษ : Wild water buffalo;  มราฐี : पाणम्हैस) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดหนึ่ง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bubalus arnee              มีลักษณะคล้าย ควายบ้าน  (B. bubalis) ที่อยู่ใน สกุลเดียวกัน  แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็น สีเทา หรือสีน้ำตาล ดำ  ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลาย สีขาว รูป ตัววี  (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม               ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40 เมตร - 2.80 เมตร ความยาวหาง 60 - 85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม               มีการกระจายพันธุ์จาก ประเทศเนปาล และ อินเดีย  ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ ประเทศเวียดนาม  ใน ประเทศไทย ปัจจุบัน เหลืออยู่บริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง   จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมา

ละองหรือละมั่ง

รูปภาพ
ละองหรือละมั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cervus eldi            ละองหรือละมั่ง ( อังกฤษ : Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panolia eldii ) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใน อันดับสัตว์กีบคู่ ชนิดหนึ่ง เป็น กวาง ขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ ฤดูร้อน  ขนหยาบและยาว ใน ฤดูหนาว ขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วง ฤดูร้อน               ใน ตัวผู้ จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก ภาษาเขมร คำว่า "ลำเมียง" (រេបីស) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุด สีขาว กระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมี สีขาว  มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม 

สมัน

รูปภาพ
สมันหรือเนื้อสมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cervus schomburgki           สมัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม ( อังกฤษ : Schomburgk's deer) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวก สัตว์กีบคู่ ชนิดหนึ่ง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Rucervus schomburgki            เป็น กวาง ขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็น สีขาว  มีลักษณะเด่นคือ  ตัวผู้ จะมี เขา แตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180  เซนติเมตร  ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120  กิโลกรัม สมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง              มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในที่ราบลุ่ม ภาคกลาง ของ ไทย เท่านั้น รวมถึงบริเวณ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันด้วย โดยอาศัยอยู่ในที่ทุ่งโล่งกว้าง ไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าได้อย่

กวางผา

รูปภาพ
กวางผา ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Naemorhedus griseus           กวางผาจีน หรือ กวางผาจีนถิ่นใต้ (อังกฤษ: Chinese goral, South China goral) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naemorhaedus griseus อยู่ในวงศ์ Bovidae            มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ มีหูยาว ขนตามลำตัวหยาบและหนามีสีเทาหรือน้ำตาลเทา มีแถบสีดำพาดอยู่กลางหลัง ตัวเมียจะมีสีขนอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณลำคอด้านในมีขนสีอ่อน ริมฝีปากและรอบ ๆ ตาสีขาว เขาสั้นมีสีดำ ตัวผู้จะมีเขาที่หนาและยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 82-120 เซนติเมตร ความยาวหาง 7.5-20 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 22-32 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ในเดือนตุลาคม-ธันวาคมใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้องสั้นและสูงเป็นสัญญานเตือนภัยถึงตัวอื่น ๆ ในฝูง มักออกหากินตามทุ่งหญ้าโล่งในเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกดินจนถึงเวลาเช้าตรู่ กินอาหารได้แก่ หญ้า, ยอดอ่อนของใบไม้, รากไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกก่อเป็นอาหารหลัก สามารถว่ายน้ำได้ดีเหมือนเลียงผา และเคยมีร

นกแต้วแล้วท้องดำ

รูปภาพ
นกแต้วแล้วท้องดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Pitta gurneyi            นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (อังกฤษ: Gurney's Pitta, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta gurneyi) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และบางส่วนในประเทศพม่า             นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี พ.ศ. 2457 และไม่พบอีกเลยติดต่อกันนานถึง 50 ปี ทำให้ CITES ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ถูกค้นพบในประเทศไทยโดย Assoc. Prof. Philip D. Round และ อุทัย ตรีสุคนธ์ โดยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น จึงถูกให้เป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่ง IUCN เคยประเมินสถานภาพให้อยู่ในระดับใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในประเทศพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็นใกล้ส

นกกระเรียน

รูปภาพ
นกกระเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Grus antigone            นกกระเรียน หรือ นกกระเรียน (อังกฤษ: Sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 ม. สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตายนกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น"เกาะ"รูปวงกลมจากกก อ้อ และ พงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเ

แมวลายหินอ่อน

รูปภาพ
แมวลายหินอ่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Pardofelis marmorata            แมวลายหินอ่อน (อังกฤษ: Marbled cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pardofelis marmorata) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae) ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ(Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน             ปัจจุบันนักวิชาการแบ่งแมวลายหินอ่อนออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ P. m. marmorata และ P. m. charltoni             ถิ่นอาศัยของแมวลายหินอ่อนอยู่ในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล (P. m. chartoni) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เมื่ออยู่ในป่าทึบตามธรรมชาติจะพบเห็นได้น้อย ปัจจุบันยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแมวชนิดนี้อยู่น้อย และยังไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ขณะเดียวกันป่าที่เป็นถิ่นอาศัยก็มีพื้นที่ลดลง ทำให้ปัจจุบันแมวชนิดนี้อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์              พฤติกรรมของแมวลายหินอ่อน เมื่ออยู่ในที่เลี้ยงค่อนข้างดุร้ายกว่าเสือหรือแมวป่าชนิดอื่น ๆ มีอาย

สมเสร็จ

รูปภาพ
สมเสร็จ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tapirus indicus            สมเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (อังกฤษ: Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็จ  สมเสร็จมลายูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่ นับเป็นสมเสร็จชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นชนิดเดียวที่พบในทวีปเอเชีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tapirus indicus            เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด คือ มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง รูปร่างหน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด ลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวไหล่และขาทั้งสี่ข้างมีสีดำ ส่วนกลางลำตัวเป็นสีขาว ใบหูกลม ขนปลายหูและริมฝีปากมีสีขาว มีแผ่นหนังหนาบริเวณสันก้านคอเพื่อป้องกันการโจมตีของเสือโคร่ง ที่จะตะปบกัดบริเวณก้านคอ ลูกที่เกิดใหม่จะมีลวดลายคล้ายแตงไทยและขนยาว และลายนี้จะค่อย ๆ จางลงเมื่ออายุได้ 6-8 เดือน ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โตเต็มที่ความยาวลำตัวและหัว 220-240 เซนติเมตร ความยาวหาง 5-10 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 250-300 กิโลกรัม 

เก้งหม้อ

รูปภาพ
เก้งหม้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Muntiacus feai             เก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (อังกฤษ: Fea's muntjac, Tenasserim muntjac; ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม                 มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย                 เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้

พยูนหรือหมูน้ำ

รูปภาพ
พะยูนหรือหมูน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dugong dugon           พะยูน (อังกฤษ: Dugong, Sea cow) เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็น สัตว์น้ำ  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Dugong dugon อยู่ใน อันดับพะยูน  (Sirenia)             พะยูนมีรูปร่างคล้าย แมวน้ำ ขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงา ช้าง  ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขา คู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที อายุ 9-10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9-14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15-20 กิโลกรัม ใช้เ

เลียงผา

รูปภาพ
เลียงผา หรือ เยือง หรือ กูรำ หรือ โครำ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Capricornis sumatraensis         เลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (อังกฤษ: Serow; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/)          เลียงผามีลักษณะคล้ายกับกวางผา ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมา (ซึ่งบางข้อมูลยังจัดให้อยู่สกุลเดียวกัน) แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขอยาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น โดยมักอยู่ตามหน้าผาห