ควายป่า


ควายป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis 


           ควายป่า (อังกฤษ: Wild water buffalo; มราฐี: पाणम्हैस) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee 
            มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม 
             ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40 เมตร - 2.80 เมตร ความยาวหาง 60 - 85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม 
             มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบัน เหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีเท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว 
              หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20 - 25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กิชพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย 
                สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมัน

เก้งหม้อ