เก้งหม้อ
เก้งหม้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feai
เก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (อังกฤษ: Fea's muntjac, Tenasserim muntjac; ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย
เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535
มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย
เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น