บทความ

สัตว์ป่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน

รูปภาพ
สัตว์ป่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน จำนวน 4 ชนิด 1.วาฬบรูด้า ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Balaenoptera edeni       วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ ( อังกฤษ : Bryde's whale, Eden's whale;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balaenoptera edeni) เป็น วาฬ ขนาดใหญ่ เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  จัดอยู่ในวงศ์  Balaenopteridae  โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาว นอร์เวย์  ใน ประเทศแอฟริกาใต้  ที่ชื่อ โยฮัน บรูด้า           มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ และเป็น สัตว์ ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงได้รับการคุ้มครองเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535  ห้ามมีการค้าขายวาฬบรูด้าระหว่างประเทศ           วาฬบรูด้าพบกระจายพันธุ์ในท้อง ทะเล เขตอบอุ่น ทั่วโลก ใน ประเทศไทย พบอาศัยอยู่ใน อ่าวไทย  สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ ทะเลบ่อนอก   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่

แรดชวา

รูปภาพ
แรดชวา ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rhinoceros sondaicus            แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา ( อังกฤษ : Javan Rhinoceros) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ใน อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ แรด  อยู่ในสกุลเดียวกันกับ แรดอินเดีย  เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว               แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวใน อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน บน เกาะชวา ใน ประเทศอินโดนีเซีย  และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวใน อุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน ใน ประเทศเวียดนาม  แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้วการลดลงของแรดชวาเกิดจากการล

กระซู่

รูปภาพ
กระซู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Didermocerus sumatraensis            กระซู่ , แรดสุมาตรา หรือ แรดขน ( อังกฤษ : Sumatran Rhinoceros ;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicerorhinus sumatrensis) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใน อันดับสัตว์กีบคี่ จำพวก แรด  กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียง ชนิด เดียวที่อยู่ใน สกุล  Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือน แรดชวา  นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม. ลำตัวมีขนหยาบและยาวปกคลุม เมื่อโตเต็มที่สูง 120–145  ซม.  จรดหัวไหล่ ยาว 250 ซม. และมีน้ำหนัก 500-800  กก.             กระซู่อาศัยอยู่ใน ป่าดิบชื้น   ป่าพรุ  และ  ป่าเมฆ ในประเทศอินเดีย  ภูฏาน   บังกลาเทศ   พม่า   ลาว   ไทย   มาเลเซีย   อินโดนีเซีย  และ จีน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มณฑลเสฉวน  ปัจจุบัน กระซู่ถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ เหลือสังคมประชากรเพียงหกแหล่งในป่า มีสี่แหล่งใน สุมาตรา  หนึ่งแหล่งใน บอร์เนียว และอีกหนึ่งแหล่งใน มาเลเซียตะวันตก  จำนวนกระซู่ในปัจจุบันยากที่จะประมาณการได้เพราะเป็นสัตว์สันโดษที่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็

กูปรี

รูปภาพ
กูปรีหรือโคไพร ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bos sauveli           กูปรี หรือ โคไพร ( เขมร : គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า กูปรี แปลว่า วัวป่า) มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวก กระทิง และ วัวป่า  เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน             ตัวผู้ มีขน สีดำ  ขนาดความสูง 1.71 - 1.90 เมตร ขนาดลำตัว 2.10 - 2.22 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 700 - 900 กิโลกรัม เขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับ กระทิง  (B. gaurus) ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เชื่อว่าใช้ในการระบายความร้อน               ตัวเมีย มีขน สีเทา  มีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา มีเขากลวงแบบ Horns ขนาดเท่ากัน โคนเขาใหญ่ ปลายเขาแหลม ไม่มีการแตกกิ่ง ยาวประมาณ 1 เมตร 

ควายป่า

รูปภาพ
ควายป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bubalus bubalis             ควายป่า ( อังกฤษ : Wild water buffalo;  มราฐี : पाणम्हैस) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดหนึ่ง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bubalus arnee              มีลักษณะคล้าย ควายบ้าน  (B. bubalis) ที่อยู่ใน สกุลเดียวกัน  แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็น สีเทา หรือสีน้ำตาล ดำ  ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลาย สีขาว รูป ตัววี  (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม               ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40 เมตร - 2.80 เมตร ความยาวหาง 60 - 85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม               มีการกระจายพันธุ์จาก ประเทศเนปาล และ อินเดีย  ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ ประเทศเวียดนาม  ใน ประเทศไทย ปัจจุบัน เหลืออยู่บริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง   จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมา

ละองหรือละมั่ง

รูปภาพ
ละองหรือละมั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cervus eldi            ละองหรือละมั่ง ( อังกฤษ : Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer;  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panolia eldii ) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใน อันดับสัตว์กีบคู่ ชนิดหนึ่ง เป็น กวาง ขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ ฤดูร้อน  ขนหยาบและยาว ใน ฤดูหนาว ขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วง ฤดูร้อน               ใน ตัวผู้ จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก ภาษาเขมร คำว่า "ลำเมียง" (រេបីស) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุด สีขาว กระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมี สีขาว  มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม 

สมัน

รูปภาพ
สมันหรือเนื้อสมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cervus schomburgki           สมัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม ( อังกฤษ : Schomburgk's deer) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวก สัตว์กีบคู่ ชนิดหนึ่ง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Rucervus schomburgki            เป็น กวาง ขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็น สีขาว  มีลักษณะเด่นคือ  ตัวผู้ จะมี เขา แตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180  เซนติเมตร  ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120  กิโลกรัม สมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง              มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในที่ราบลุ่ม ภาคกลาง ของ ไทย เท่านั้น รวมถึงบริเวณ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันด้วย โดยอาศัยอยู่ในที่ทุ่งโล่งกว้าง ไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าได้อย่